วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561

โรคหลอดเลือดสมองตีบ
การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก



กรุณาคลิกวิดิทัศน์ด้านล่าง

โรคภาวะสมองเสื่อม

โรคภาวะสมองเสื่อม
       ภาวะสมองเสื่อม คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติต่าง ๆที่ส่งผลกระทบต่อสมอง มันไม่ใช่เป็นโรคใดโรคหนึ่งโดยเฉพาะภาวะสมองเสื่อมส่งผลกระทบต่อความคิด พฤติกรรม และความสามารถในการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวัน การทำงานของสมอง ได้รับผลกระทบเพียงพอที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตสังคมหรือชีวิตการทำงานปกติของบุคคล ลักษณะเด่นของภาวะสมองเสื่อม คือ ไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งเป็นผลจากการที่ความสามารถในการรู้คิดลดลง แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคภาวะสมองเสื่อม หากส่วนการรู้คิดสองส่วนหรือมากกว่านั้นมีความบกพร่องอย่างรุนแรง ส่วนการรู้คิดที่ได้รับผลกระทบนั้นอาจได้แก่ ความจำ ทักษะทางภาษา ความรู้ความเข้าใจข้อมูลข่าวสาร ทักษะด้านมิติสัมพันธ์  การตัดสินใจ และความใส่ใจ บุคคลที่มีภาวะสมองเสื่อมอาจประสบความยากลำบากในการแก้ปัญหาและควบคุมอารมณ์ ของพวกเขา นอกจากนั้นพวกเขายังอาจประสบกับความเปลี่ยนแปลง ทางบุคลิกภาพ อาการที่แน่ชัดต่าง ๆ ที่เกิดกับคนที่มีภาวะสมองเสื่อมนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่ของสมองที่ได้รับความเสียหายจากโรคที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม ภาวะสมองเสื่อมหลายประเภท มีเซลล์ประสาทบางเซลล์ในสมองหยุดการทำงาน อีกทั้งสูญเสียการเชื่อมต่อกับเซลล์อื่น ๆ และตาย โดยปกติภาวะสมองเสื่อมจะร้ายแรงขึ้น ซึ่งหมายความว่า โรคนี้ค่อยๆ แพร่กระจายทั่วสมอง และอาการของบุคคลนั้น ๆ จะทรุดลงตามเวลา

สาเหตุของสมองเสื่อม
สมองเสื่อมมีสาเหตุมาจากความเสียหายหรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสมอง โดยโรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด และสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือด (Vascular Dementia) เป็นสาเหตุรองลงมา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสมองเสื่อมจะไม่สามารถรักษาให้กลับคืนเป็นปกติได้ และอาการมักเป็นมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
สาเหตุของสมองเสื่อมชนิดที่ไม่สามารถกลับคืนเป็นปกติ ที่พบบ่อยมีดังนี้
  • โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด มักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป
  • ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มาพร้อมอาการทางประสาท (Dementia with Lewy Bodies) สามารถทำให้เสียความทรงจำในระยะสั้น และยังทำให้มีปัญหาในการนอนหลับ อาการประสาทหลอน หรือร่างกายขาดสมดุล
  • สมองเสื่อมชนิด Frontotemporal Dementia: FTD อาการที่พบ ผู้ป่วยจะมีบุคลิกที่เปลี่ยนแปลงไป หรือทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น พูดจาหยาบคาย หรือแสดงกริยาที่ไม่เหมาะสมต่อผู้อื่น
  • โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมได้เช่นกัน ผู้ป่วยจะมีปัญหาในการเคลื่อนไหว และการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
  • ภาวะสมองเสื่อมที่มาจากโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด (Vascular Dementia) มักจะเกิดในผู้ป่วยเป็นโรคสมองขาดเลือด เป็นความดันโลหิตสูงระยะยาว โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
  • การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับความจำและสมาธิ
สาเหตุของสมองเสื่อมชนิดที่อาจรักษาให้กลับคืนเป็นปกติได้ ที่พบบ่อยมีดังนี้
  • ได้รับสารพิษโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว
  • การขาดวิตามิน บี 12
  • ภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism)
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
  • เนื้องอกในสมองบางชนิด
  • ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus)
  • สมองอักเสบ
  • ราเรื้อรัง
  • เอดส์ เอชไอวี (HIV)
โรคอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับสมองเสื่อม
  • โรคฮันติงตัน (Huntington's Disease) เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสื่อมกับระบบประสาทและส่งผลนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม มักจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีอายุประมาณ 30-40 ปี
  • สมองบาดเจ็บ (Traumatic Brain Injury) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการที่สมองได้รับบาดเจ็บซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง เช่น เกิดกับนักมวยหรือนักฟุตบอล ซึ่งเป็นภาวะที่สามารถนำไปสู่ สมองเสื่อมได้ เช่น เสียความทรงจำ หรือเกิดภาวะซึมเศร้า
  • โรควัวบ้า (Creutzfeldt-Jakob Disease) มักเป็นโรคที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เกิดขึ้นได้จากกรรมพันธุ์หรือการสัมผัสกับโรคสมองหรือเนื้อเยื่อระบบประสาทที่เป็นโรค เช่น เนื้อสมองจากวัวที่เป็นโรค

ปัจจัยที่ทำให้เกิดสมองเสื่อม
  • อายุ ความเสี่ยงในการเป็นสมองเสื่อมจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นสมองเสื่อม หากมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นสมองเสื่อม ก็จะทำให้มีความเสี่ยงที่สูงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นสมองเสื่อมมีโอกาสเป็นได้เช่นกัน
  • ความบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง เกี่ยวข้องหรือมีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ แต่จะไม่รวมถึงส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ในชีวิตประจำวัน โดยความบกพร่องดังกล่าวมีโอกาสสูงที่จะทำให้เกิดสมองเสื่อมได้
  • ดาวน์ซินโดรม การพัฒนาเป็นโรคอัลไซเมอร์จะพบบ่อยในผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมในวัยกลางคน
  • พันธุกรรม ความผิดปกติบางอย่างที่ทำให้สมองเสื่อมเกิดขึ้นได้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยแพทย์มักจะพบผู้ป่วยสมองเสื่อมประเภทนี้ที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี
  • ปัจจัยอื่น ๆ เช่น โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคซึมเศร้า การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์จัด
การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับทางด้านจิตใจ
  • มีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
  • มีอาการซึมเศร้า
  • เกิดความวิตกกังวล
  • มีความหวาดระแวง
  • ภาวะกายและใจไม่สงบ กระสับกระส่าย
  • มีอาการประสาทหลอน
ภาวะแทรกซ้อนของสมองเสื่อม สมองเสื่อมส่งผลกระทบเกี่ยวกับระบบการทำงานของร่างกาย ดังนี้
  • ภาวะขาดสารอาหารหรือขาดน้ำ ผู้ป่วยสมองเสื่อมมักจะลดหรือหยุดการบริโภคอาหาร และในที่สุดอาจไม่สามารถเคี้ยวหรือกลืนอาหารได้
  • ปอดบวม เมื่อผู้ป่วยสมองเสื่อมเกิดความยากลำบากในการกลืนอาหาร อาจทำให้สำลักเอาเศษอาหารเข้าไปในปอด และยังไปกั้นการหายใจและทำให้เกิดปอดบวมได้ในที่สุด
  • ดูแลตนเองไม่ได้ ในกระบวนการเกิดสมองเสื่อม อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถอาบน้ำ แต่งตัว หวีผมหรือแปรงฟัน เข้าห้องน้ำหรือการรับประทานยาได้ถูกต้อง
  • การสื่อสาร ผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารหรือแสดงความรู้สึกไปยังผู้อื่นได้
  • ทำให้เกิดอันตราย เช่น การขับรถ หรือการประกอบอาหาร อาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยกับผู้ป่วย
  • ถึงแก่ความตาย สมองเสื่อมในขั้นสุดท้ายอาจทำให้เกิดการโคม่าหรือเสียชีวิต โดยมักจะมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ
การป้องกันสมองเสื่อม
โดยส่วนใหญ่ สมองเสื่อมป้องกันได้ยากเพราะมักไม่ทราบสาเหตุ แต่สามารถลดโอกาสการเป็นสมองเสื่อมลงได้โดยดูแลสุขภาพโดยรวมให้มีความสมบูรณ์ดี ก็เป็นอีกทางที่จะช่วยป้องกันได้ ซึ่งมีแนวทางง่าย ๆ ดังนี้
  • เลิกบุหรี่ การเลิกบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อม ที่สำคัญทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นได้
  • รับประทานอาหารสุขภาพ จะช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรงอยู่เสมอ ลดโอกาสเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เน้นการรับประทานผักผลไม้ หรืออาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 เช่น ถั่วหรือปลา ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงสมองเสื่อมได้
  • ได้รับวิตามิน ดี อย่างเพียงพอ จากการรับประทานอาหารเสริมหรือจากแสงแดด เนื่องจากการวิจัยพบว่า ผู้ที่มีระดับวิตามิน ดี ต่ำมีโอกาสที่จะเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อมได้
  • น้ำหนักตัว รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อลดความเสี่ยงของสมองเสื่อมรวมไปถึงโรคอื่น ๆ
  • ทำอารมณ์ให้แจ่มใสและเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ เพื่อเป็นการฝึกสมอง ไม่ว่าจะเป็นงานอดิเรก เช่น การอ่านหนังสือ หรือเล่นเกมเสริมทักษะความรู้ต่าง ๆ
  • รักษาระดับความดันโลหิต ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดสมองเสื่อมบางชนิด
  • เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการออกกำลังกาย การเข้าร่วมกิจกรรมหรือทำกิจกรรม จะช่วยชะลอการเกิดสมองเสื่อมพร้อมทั้งลดอาการบางอย่างที่เกิดจากสมองเสื่อม หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำให้ได้ 150 นาที ต่อสัปดาห์



นวัตกรรมพัฒนาสมองให้ใสปิ๊ง ด้วยตาราง 9 ช่อง


พัฒนาสมองให้ใสปิ๊ง ด้วยตาราง 9 ช่อง คุณเองก็ทำได้


แบบที่ 1 "ก้าวขึ้น-ลง" 

          ด้วยการวางเท้าซ้ายที่ช่องหมายเลข 2 เท้าขวาอยู่ที่ช่องหมายเลข 3 จากนั้นก้าวเท้าซ้ายขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 5 ก้าวเท้าขวาขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 6 ต่อด้วยก้าวเท้าซ้ายต่อไปที่ช่องหมายเลข 8 เท้า ก้าวขวาก้าวต่อไปที่ช่องหมายเลข 9 จากนั้นถอยเท้าซ้ายลงไปที่ช่องหมายเลข 5 ถอยเท้าขวาไปที่ช่องหมายเลข 6 ถอยเท้าซ้ายลงไปที่ช่องหมายเลข 2 สุดท้ายถอยเท้าขวาลงไปที่ช่องหมายเลข 

พัฒนาสมอง ด้วยตาราง 9 ช่อง
แบบที่ 2 "ก้าวออกด้านข้าง" 

          ท่าเตรียมวางเท้าทั้งสองข้างยืนอยู่ที่ช่องหมายเลข 2 จากนั้นเริ่มต้นก้าวเท้าซ้ายไปที่ช่องหมายเลข 1 ก้าวเท้าขวาไปที่ช่องหมายเลข 3 ก้าวเท้าซ้ายกลับมาที่ช่องหมายเลข 2 พร้อมทั้งก้าวเท้าขวากลับมาที่ช่องหมายเลข 2 ด้วย 
พัฒนาสมอง ด้วยตาราง 9 ช่อง
แบบที่ 3 "ก้าวเป็นรูปกากบาท" 

          ท่าเตรียมวางเท้าซ้ายไว้ที่ช่องหมายเลข 1 เท้าขวาอยู่ที่ช่องหมายเลข 3 จากนั้นก้าวเท้าซ้ายขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 5 พร้อมกับก้าวเท้าขวาต่อไปที่ช่องหมายเลข 5 ด้วย ก้าวเท้าซ้ายขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 7 ก้าวเท้าขวาขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 9 ต่อด้วยถอยเท้าซ้ายลงไปที่ช่องหมายเลข 5 ถอยเท้าขวาลงไปที่ช่องหมายเลข 5 และถอยเท้าซ้ายลงไปที่ช่องหมายเลข 1 สุดท้ายถอยเท้าขวาลงไปที่ช่องหมายเลข 3 
พัฒนาสมอง ด้วยตาราง 9 ช่อง

แบบที่ 4 "ก้าวเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด" 

          ท่าเตรียมเท้าทั้งสองข้างวางอยู่ที่ช่องหมายเลข 2 จากนั้นก้าวเท้าซ้ายไปที่ช่องหมายเลข 4 ก้าวเท้าขวาไปที่ช่องหมายเลข 6 ต่อด้วยก้าวเท้าซ้ายไปที่ช่องหมายเลข 8 ตามด้วยก้าวเท้าขวาไปที่ช่องหมายเลข 8 เช่นกัน จากนั้นถอยเท้าซ้ายลงไปที่ช่องหมายเลข 4 ถอยเท้าขวาไปที่ช่องหมายเลข 6 สุดท้ายถอยเท้าซ้ายลงไปที่ช่องหมายเลข 2 ตามด้วยถอยเท้าขวาลงไปที่ช่องหมายเลข 2 เช่นกัน เป็นอันจบท่าแบบที่ 4 

พัฒนาสมอง ด้วยตาราง 9 ช่อง
แบบที่ 5 "ก้าวทแยงมุมแบบไขว้เท้า" 

          เริ่มต้นท่าเตรียม ยืนอยู่แถวล่างสุดของตาราง โดยวางเท้าซ้ายไว้ที่ช่องหมายเลข 1 เท้าขวาวางไว้ที่ช่องหมายเลข 3 จากนั้นเริ่มด้วยก้าวเท้าซ้ายเฉียงขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 9 ก้าวเท้าขวาไขว้ข้ามไปที่ช่องหมายเลข 7 ต่อด้วยถอยเท้าซ้ายลงมาที่ช่องหมายเลข 1 และถอยเท้าขวาลงมาที่ช่องหมายเลข 3 

พัฒนาสมอง ด้วยตาราง 9 ช่อง
แบบที่ 6 "ก้าวทแยงมุมแบบรัศมีดาว"

          ท่าเตรียมเท้าทั้งสองข้างยืนอยู่ที่ช่องหมายเลข 5 จากนั้นเริ่มต้นด้วยก้าวเท้าซ้ายเฉียงลงไปที่ช่องหมายเลข 1 ก้าวเท้าขวาเฉียงขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 9 และก้าวเท้าซ้ายกลับมาที่ช่องหมายเลข 5 พร้อมด้วยก้าวเท้าขวากลับไปที่ช่องหมายเลข 5 เช่นกัน ต่อด้วยก้าวเท้าซ้ายเฉียงขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 7 ก้าวเท้าขวาเฉียงลงไปที่ช่องหมายเลข 3 จากนั้นก้าวเท้าซ้ายกลับมาที่ช่องหมายเลข 5 ก้าวเท้าขวากลับมาช่องหมายเลข 5 
พัฒนาสมอง ด้วยตาราง 9 ช่อง
แบบที่ 7 "ก้าวเฉียงเป็นรูปตัว v" 

          ท่าเตรียมยืนด้วยเท้าทั้งสองข้างอยู่ที่ช่องหมายเลข 2 เริ่มต้นด้วยก้าวเท้าซ้ายขึ้นไปที่หมายเลข 7 ก้าวเท้าขวาขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 9 ต่อด้วยก้าวเท้าซ้ายกลับมาที่ช่องหมายเลข 2 และสุดท้ายก้าวเท้าขวากลับมาที่ช่องหมายเลข 2 
พัฒนาสมอง ด้วยตาราง 9 ช่อง
แบบที่ 8 "ก้าวสามเหลี่ยม"

          ท่าเตรียมยืนด้วยเท้าทั้งสองข้างในช่องหมายเลข 2 จากนั้นเริ่มต้นก้าวเท้าซ้ายขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 8 ตามด้วยก้าวเท้าขวาขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 8 จากนั้นถอยเท้าซ้ายลงมาที่ช่องหมายเลข 1 ถอยเท้าขวาลงมาที่ช่องหมายเลข 3 ต่อด้วยก้าวเท้าซ้ายกลับมาที่ช่องหมายเลข 2 และก้าวเท้าขวากลับมาที่ช่องหมายเลข 2 ด้วย 
พัฒนาสมอง ด้วยตาราง 9 ช่อง
แบบที่ 9 "ก้าว-ชิด สามเหลี่ยมซ้อน" 

          เริ่มด้วยท่าเตรียมยืนด้วยเท้าทั้งสองข้างอยู่ที่ช่องหมายเลข 2 ก้าวเท้าซ้ายขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 4 ก้าวเท้าขวาไปที่ช่องหมายเลข 6 ต่อด้วยก้าวเท้าซ้ายเข้ามาที่ช่องหมายเลข 5 ก้าวเท้าขวาเข้ามาช่องหมายเลข 5 ด้วย จากนั้นก้าวเท้าซ้ายขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 7 ก้าวเท้าขวาขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 9 ก้าวเท้าซ้ายเข้ามาที่ช่องหมายเลข 8 พร้อมกับก้าวเท้าขวาเข้ามาที่ช่องหมายเลข 8 ด้วย จากนั้นทำย้อนกลับลงไปสู่ช่องเริ่มต้น 
พัฒนาสมอง ด้วยตาราง 9 ช่อง


วิดิทัศน์การออกกำลังกายตาราง 9 ช่อง