ภาวะสมองเสื่อม คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากความผิ ดปกติต่าง ๆที่ส่งผลกระทบต่อสมอง มันไม่ใช่เป็นโรคใดโรคหนึ่ งโดยเฉพาะภาวะสมองเสื่อมส่ งผลกระทบต่อความคิด พฤติกรรม และความสามารถในการปฏิบัติ งานในชีวิตประจำวัน การทำงานของสมอง ได้รับผลกระทบเพียงพอที่จะส่ งผลกระทบต่อชีวิตสังคมหรือชีวิ ตการทำงานปกติของบุคคล ลักษณะเด่นของภาวะสมองเสื่อม คือ ไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งเป็นผลจากการที่ ความสามารถในการรู้คิดลดลง แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็ นโรคภาวะสมองเสื่อม หากส่วนการรู้คิดสองส่วนหรื อมากกว่านั้นมีความบกพร่องอย่ างรุนแรง ส่วนการรู้คิดที่ได้รั บผลกระทบนั้นอาจได้แก่ ความจำ ทักษะทางภาษา ความรู้ความเข้าใจข้อมูลข่าวสาร ทักษะด้านมิติสัมพันธ์ การตัดสินใจ และความใส่ใจ บุคคลที่มีภาวะสมองเสื่ อมอาจประสบความยากลำบากในการแก้ ปัญหาและควบคุมอารมณ์ ของพวกเขา นอกจากนั้นพวกเขายังอาจประสบกั บความเปลี่ยนแปลง ทางบุคลิกภาพ อาการที่แน่ชัดต่าง ๆ ที่เกิดกับคนที่มีภาวะสมองเสื่ อมนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่ ของสมองที่ได้รับความเสี ยหายจากโรคที่ทำให้เกิ ดภาวะสมองเสื่อม ภาวะสมองเสื่อมหลายประเภท มีเซลล์ประสาทบางเซลล์ในสมองหยุ ดการทำงาน อีกทั้งสูญเสียการเชื่อมต่อกั บเซลล์อื่น ๆ และตาย โดยปกติภาวะสมองเสื่อมจะร้ ายแรงขึ้น ซึ่งหมายความว่า โรคนี้ค่อยๆ แพร่กระจายทั่วสมอง และอาการของบุคคลนั้น ๆ จะทรุดลงตามเวลา
สาเหตุของสมองเสื่อม
สมองเสื่อมมีสาเหตุมาจากความเสียหายหรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสมอง โดยโรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด และสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือด (Vascular Dementia) เป็นสาเหตุรองลงมา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสมองเสื่อมจะไม่สามารถรักษาให้กลับคืนเป็นปกติได้ และอาการมักเป็นมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
สมองเสื่อมมีสาเหตุมาจากความเสียหายหรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสมอง โดยโรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด และสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือด (Vascular Dementia) เป็นสาเหตุรองลงมา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสมองเสื่อมจะไม่สามารถรักษาให้กลับคืนเป็นปกติได้ และอาการมักเป็นมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
สาเหตุของสมองเสื่อมชนิดที่ไม่สามารถกลับคืนเป็นปกติ ที่พบบ่อยมีดังนี้
- โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด มักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป
- ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มาพร้อมอาการทางประสาท (Dementia with Lewy Bodies) สามารถทำให้เสียความทรงจำในระยะสั้น และยังทำให้มีปัญหาในการนอนหลับ อาการประสาทหลอน หรือร่างกายขาดสมดุล
- สมองเสื่อมชนิด Frontotemporal Dementia: FTD อาการที่พบ ผู้ป่วยจะมีบุคลิกที่เปลี่ยนแปลงไป หรือทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น พูดจาหยาบคาย หรือแสดงกริยาที่ไม่เหมาะสมต่อผู้อื่น
- โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมได้เช่นกัน ผู้ป่วยจะมีปัญหาในการเคลื่อนไหว และการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
- ภาวะสมองเสื่อมที่มาจากโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด (Vascular Dementia) มักจะเกิดในผู้ป่วยเป็นโรคสมองขาดเลือด เป็นความดันโลหิตสูงระยะยาว โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
- การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับความจำและสมาธิ
สาเหตุของสมองเสื่อมชนิดที่อาจรักษาให้กลับคืนเป็นปกติได้ ที่พบบ่อยมีดังนี้
- ได้รับสารพิษโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว
- การขาดวิตามิน บี 12
- ภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism)
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
- เนื้องอกในสมองบางชนิด
- ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus)
- สมองอักเสบ
- ราเรื้อรัง
- เอดส์ เอชไอวี (HIV)
โรคอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับสมองเสื่อม
- โรคฮันติงตัน (Huntington's Disease) เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสื่อมกับระบบประสาทและส่งผลนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม มักจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีอายุประมาณ 30-40 ปี
- สมองบาดเจ็บ (Traumatic Brain Injury) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการที่สมองได้รับบาดเจ็บซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง เช่น เกิดกับนักมวยหรือนักฟุตบอล ซึ่งเป็นภาวะที่สามารถนำไปสู่ สมองเสื่อมได้ เช่น เสียความทรงจำ หรือเกิดภาวะซึมเศร้า
- โรควัวบ้า (Creutzfeldt-Jakob Disease) มักเป็นโรคที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เกิดขึ้นได้จากกรรมพันธุ์หรือการสัมผัสกับโรคสมองหรือเนื้อเยื่อระบบประสาทที่เป็นโรค เช่น เนื้อสมองจากวัวที่เป็นโรค
ปัจจัยที่ทำให้เกิดสมองเสื่อม
- อายุ ความเสี่ยงในการเป็นสมองเสื่อมจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นสมองเสื่อม หากมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นสมองเสื่อม ก็จะทำให้มีความเสี่ยงที่สูงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นสมองเสื่อมมีโอกาสเป็นได้เช่นกัน
- ความบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง เกี่ยวข้องหรือมีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ แต่จะไม่รวมถึงส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ในชีวิตประจำวัน โดยความบกพร่องดังกล่าวมีโอกาสสูงที่จะทำให้เกิดสมองเสื่อมได้
- ดาวน์ซินโดรม การพัฒนาเป็นโรคอัลไซเมอร์จะพบบ่อยในผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมในวัยกลางคน
- พันธุกรรม ความผิดปกติบางอย่างที่ทำให้สมองเสื่อมเกิดขึ้นได้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยแพทย์มักจะพบผู้ป่วยสมองเสื่อมประเภทนี้ที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี
- ปัจจัยอื่น ๆ เช่น โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคซึมเศร้า การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์จัด
การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับทางด้านจิตใจ
- มีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
- มีอาการซึมเศร้า
- เกิดความวิตกกังวล
- มีความหวาดระแวง
- ภาวะกายและใจไม่สงบ กระสับกระส่าย
- มีอาการประสาทหลอน
ภาวะแทรกซ้อนของสมองเสื่อม สมองเสื่อมส่งผลกระทบเกี่ยวกับระบบการทำงานของร่างกาย ดังนี้
- ภาวะขาดสารอาหารหรือขาดน้ำ ผู้ป่วยสมองเสื่อมมักจะลดหรือหยุดการบริโภคอาหาร และในที่สุดอาจไม่สามารถเคี้ยวหรือกลืนอาหารได้
- ปอดบวม เมื่อผู้ป่วยสมองเสื่อมเกิดความยากลำบากในการกลืนอาหาร อาจทำให้สำลักเอาเศษอาหารเข้าไปในปอด และยังไปกั้นการหายใจและทำให้เกิดปอดบวมได้ในที่สุด
- ดูแลตนเองไม่ได้ ในกระบวนการเกิดสมองเสื่อม อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถอาบน้ำ แต่งตัว หวีผมหรือแปรงฟัน เข้าห้องน้ำหรือการรับประทานยาได้ถูกต้อง
- การสื่อสาร ผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารหรือแสดงความรู้สึกไปยังผู้อื่นได้
- ทำให้เกิดอันตราย เช่น การขับรถ หรือการประกอบอาหาร อาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยกับผู้ป่วย
- ถึงแก่ความตาย สมองเสื่อมในขั้นสุดท้ายอาจทำให้เกิดการโคม่าหรือเสียชีวิต โดยมักจะมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ
การป้องกันสมองเสื่อม
โดยส่วนใหญ่ สมองเสื่อมป้องกันได้ยากเพราะมักไม่ทราบสาเหตุ แต่สามารถลดโอกาสการเป็นสมองเสื่อมลงได้โดยดูแลสุขภาพโดยรวมให้มีความสมบูรณ์ดี ก็เป็นอีกทางที่จะช่วยป้องกันได้ ซึ่งมีแนวทางง่าย ๆ ดังนี้
- เลิกบุหรี่ การเลิกบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อม ที่สำคัญทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นได้
- รับประทานอาหารสุขภาพ จะช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรงอยู่เสมอ ลดโอกาสเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เน้นการรับประทานผักผลไม้ หรืออาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 เช่น ถั่วหรือปลา ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงสมองเสื่อมได้
- ได้รับวิตามิน ดี อย่างเพียงพอ จากการรับประทานอาหารเสริมหรือจากแสงแดด เนื่องจากการวิจัยพบว่า ผู้ที่มีระดับวิตามิน ดี ต่ำมีโอกาสที่จะเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อมได้
- น้ำหนักตัว รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อลดความเสี่ยงของสมองเสื่อมรวมไปถึงโรคอื่น ๆ
- ทำอารมณ์ให้แจ่มใสและเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ เพื่อเป็นการฝึกสมอง ไม่ว่าจะเป็นงานอดิเรก เช่น การอ่านหนังสือ หรือเล่นเกมเสริมทักษะความรู้ต่าง ๆ
- รักษาระดับความดันโลหิต ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดสมองเสื่อมบางชนิด
- เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการออกกำลังกาย การเข้าร่วมกิจกรรมหรือทำกิจกรรม จะช่วยชะลอการเกิดสมองเสื่อมพร้อมทั้งลดอาการบางอย่างที่เกิดจากสมองเสื่อม หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำให้ได้ 150 นาที ต่อสัปดาห์
นวัตกรรมพัฒนาสมองให้ใสปิ๊ง ด้วยตาราง 9 ช่อง
แบบที่ 1 "ก้าวขึ้น-ลง"
ด้วยการวางเท้าซ้ายที่ช่องหมายเลข 2 เท้าขวาอยู่ที่ช่องหมายเลข 3 จากนั้นก้าวเท้าซ้ายขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 5 ก้าวเท้าขวาขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 6 ต่อด้วยก้าวเท้าซ้ายต่อไปที่ช่องหมายเลข 8 เท้า ก้าวขวาก้าวต่อไปที่ช่องหมายเลข 9 จากนั้นถอยเท้าซ้ายลงไปที่ช่องหมายเลข 5 ถอยเท้าขวาไปที่ช่องหมายเลข 6 ถอยเท้าซ้ายลงไปที่ช่องหมายเลข 2 สุดท้ายถอยเท้าขวาลงไปที่ช่องหมายเลข
แบบที่ 2 "ก้าวออกด้านข้าง"
ท่าเตรียมวางเท้าทั้งสองข้างยืนอยู่ที่ช่องหมายเลข 2 จากนั้นเริ่มต้นก้าวเท้าซ้ายไปที่ช่องหมายเลข 1 ก้าวเท้าขวาไปที่ช่องหมายเลข 3 ก้าวเท้าซ้ายกลับมาที่ช่องหมายเลข 2 พร้อมทั้งก้าวเท้าขวากลับมาที่ช่องหมายเลข 2 ด้วย
ท่าเตรียมวางเท้าทั้งสองข้างยืนอยู่ที่ช่องหมายเลข 2 จากนั้นเริ่มต้นก้าวเท้าซ้ายไปที่ช่องหมายเลข 1 ก้าวเท้าขวาไปที่ช่องหมายเลข 3 ก้าวเท้าซ้ายกลับมาที่ช่องหมายเลข 2 พร้อมทั้งก้าวเท้าขวากลับมาที่ช่องหมายเลข 2 ด้วย
แบบที่ 3 "ก้าวเป็นรูปกากบาท"
ท่าเตรียมวางเท้าซ้ายไว้ที่ช่องหมายเลข 1 เท้าขวาอยู่ที่ช่องหมายเลข 3 จากนั้นก้าวเท้าซ้ายขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 5 พร้อมกับก้าวเท้าขวาต่อไปที่ช่องหมายเลข 5 ด้วย ก้าวเท้าซ้ายขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 7 ก้าวเท้าขวาขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 9 ต่อด้วยถอยเท้าซ้ายลงไปที่ช่องหมายเลข 5 ถอยเท้าขวาลงไปที่ช่องหมายเลข 5 และถอยเท้าซ้ายลงไปที่ช่องหมายเลข 1 สุดท้ายถอยเท้าขวาลงไปที่ช่องหมายเลข 3
ท่าเตรียมวางเท้าซ้ายไว้ที่ช่องหมายเลข 1 เท้าขวาอยู่ที่ช่องหมายเลข 3 จากนั้นก้าวเท้าซ้ายขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 5 พร้อมกับก้าวเท้าขวาต่อไปที่ช่องหมายเลข 5 ด้วย ก้าวเท้าซ้ายขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 7 ก้าวเท้าขวาขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 9 ต่อด้วยถอยเท้าซ้ายลงไปที่ช่องหมายเลข 5 ถอยเท้าขวาลงไปที่ช่องหมายเลข 5 และถอยเท้าซ้ายลงไปที่ช่องหมายเลข 1 สุดท้ายถอยเท้าขวาลงไปที่ช่องหมายเลข 3
แบบที่ 4 "ก้าวเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด"
ท่าเตรียมเท้าทั้งสองข้างวางอยู่ที่ช่องหมายเลข 2 จากนั้นก้าวเท้าซ้ายไปที่ช่องหมายเลข 4 ก้าวเท้าขวาไปที่ช่องหมายเลข 6 ต่อด้วยก้าวเท้าซ้ายไปที่ช่องหมายเลข 8 ตามด้วยก้าวเท้าขวาไปที่ช่องหมายเลข 8 เช่นกัน จากนั้นถอยเท้าซ้ายลงไปที่ช่องหมายเลข 4 ถอยเท้าขวาไปที่ช่องหมายเลข 6 สุดท้ายถอยเท้าซ้ายลงไปที่ช่องหมายเลข 2 ตามด้วยถอยเท้าขวาลงไปที่ช่องหมายเลข 2 เช่นกัน เป็นอันจบท่าแบบที่ 4
ท่าเตรียมเท้าทั้งสองข้างวางอยู่ที่ช่องหมายเลข 2 จากนั้นก้าวเท้าซ้ายไปที่ช่องหมายเลข 4 ก้าวเท้าขวาไปที่ช่องหมายเลข 6 ต่อด้วยก้าวเท้าซ้ายไปที่ช่องหมายเลข 8 ตามด้วยก้าวเท้าขวาไปที่ช่องหมายเลข 8 เช่นกัน จากนั้นถอยเท้าซ้ายลงไปที่ช่องหมายเลข 4 ถอยเท้าขวาไปที่ช่องหมายเลข 6 สุดท้ายถอยเท้าซ้ายลงไปที่ช่องหมายเลข 2 ตามด้วยถอยเท้าขวาลงไปที่ช่องหมายเลข 2 เช่นกัน เป็นอันจบท่าแบบที่ 4
แบบที่ 5 "ก้าวทแยงมุมแบบไขว้เท้า"
เริ่มต้นท่าเตรียม ยืนอยู่แถวล่างสุดของตาราง โดยวางเท้าซ้ายไว้ที่ช่องหมายเลข 1 เท้าขวาวางไว้ที่ช่องหมายเลข 3 จากนั้นเริ่มด้วยก้าวเท้าซ้ายเฉียงขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 9 ก้าวเท้าขวาไขว้ข้ามไปที่ช่องหมายเลข 7 ต่อด้วยถอยเท้าซ้ายลงมาที่ช่องหมายเลข 1 และถอยเท้าขวาลงมาที่ช่องหมายเลข 3
เริ่มต้นท่าเตรียม ยืนอยู่แถวล่างสุดของตาราง โดยวางเท้าซ้ายไว้ที่ช่องหมายเลข 1 เท้าขวาวางไว้ที่ช่องหมายเลข 3 จากนั้นเริ่มด้วยก้าวเท้าซ้ายเฉียงขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 9 ก้าวเท้าขวาไขว้ข้ามไปที่ช่องหมายเลข 7 ต่อด้วยถอยเท้าซ้ายลงมาที่ช่องหมายเลข 1 และถอยเท้าขวาลงมาที่ช่องหมายเลข 3
แบบที่ 6 "ก้าวทแยงมุมแบบรัศมีดาว"
ท่าเตรียมเท้าทั้งสองข้างยืนอยู่ที่ช่องหมายเลข 5 จากนั้นเริ่มต้นด้วยก้าวเท้าซ้ายเฉียงลงไปที่ช่องหมายเลข 1 ก้าวเท้าขวาเฉียงขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 9 และก้าวเท้าซ้ายกลับมาที่ช่องหมายเลข 5 พร้อมด้วยก้าวเท้าขวากลับไปที่ช่องหมายเลข 5 เช่นกัน ต่อด้วยก้าวเท้าซ้ายเฉียงขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 7 ก้าวเท้าขวาเฉียงลงไปที่ช่องหมายเลข 3 จากนั้นก้าวเท้าซ้ายกลับมาที่ช่องหมายเลข 5 ก้าวเท้าขวากลับมาช่องหมายเลข 5
ท่าเตรียมเท้าทั้งสองข้างยืนอยู่ที่ช่องหมายเลข 5 จากนั้นเริ่มต้นด้วยก้าวเท้าซ้ายเฉียงลงไปที่ช่องหมายเลข 1 ก้าวเท้าขวาเฉียงขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 9 และก้าวเท้าซ้ายกลับมาที่ช่องหมายเลข 5 พร้อมด้วยก้าวเท้าขวากลับไปที่ช่องหมายเลข 5 เช่นกัน ต่อด้วยก้าวเท้าซ้ายเฉียงขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 7 ก้าวเท้าขวาเฉียงลงไปที่ช่องหมายเลข 3 จากนั้นก้าวเท้าซ้ายกลับมาที่ช่องหมายเลข 5 ก้าวเท้าขวากลับมาช่องหมายเลข 5
แบบที่ 7 "ก้าวเฉียงเป็นรูปตัว v"
ท่าเตรียมยืนด้วยเท้าทั้งสองข้างอยู่ที่ช่องหมายเลข 2 เริ่มต้นด้วยก้าวเท้าซ้ายขึ้นไปที่หมายเลข 7 ก้าวเท้าขวาขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 9 ต่อด้วยก้าวเท้าซ้ายกลับมาที่ช่องหมายเลข 2 และสุดท้ายก้าวเท้าขวากลับมาที่ช่องหมายเลข 2
ท่าเตรียมยืนด้วยเท้าทั้งสองข้างอยู่ที่ช่องหมายเลข 2 เริ่มต้นด้วยก้าวเท้าซ้ายขึ้นไปที่หมายเลข 7 ก้าวเท้าขวาขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 9 ต่อด้วยก้าวเท้าซ้ายกลับมาที่ช่องหมายเลข 2 และสุดท้ายก้าวเท้าขวากลับมาที่ช่องหมายเลข 2
แบบที่ 8 "ก้าวสามเหลี่ยม"
ท่าเตรียมยืนด้วยเท้าทั้งสองข้างในช่องหมายเลข 2 จากนั้นเริ่มต้นก้าวเท้าซ้ายขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 8 ตามด้วยก้าวเท้าขวาขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 8 จากนั้นถอยเท้าซ้ายลงมาที่ช่องหมายเลข 1 ถอยเท้าขวาลงมาที่ช่องหมายเลข 3 ต่อด้วยก้าวเท้าซ้ายกลับมาที่ช่องหมายเลข 2 และก้าวเท้าขวากลับมาที่ช่องหมายเลข 2 ด้วย
ท่าเตรียมยืนด้วยเท้าทั้งสองข้างในช่องหมายเลข 2 จากนั้นเริ่มต้นก้าวเท้าซ้ายขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 8 ตามด้วยก้าวเท้าขวาขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 8 จากนั้นถอยเท้าซ้ายลงมาที่ช่องหมายเลข 1 ถอยเท้าขวาลงมาที่ช่องหมายเลข 3 ต่อด้วยก้าวเท้าซ้ายกลับมาที่ช่องหมายเลข 2 และก้าวเท้าขวากลับมาที่ช่องหมายเลข 2 ด้วย
แบบที่ 9 "ก้าว-ชิด สามเหลี่ยมซ้อน"
เริ่มด้วยท่าเตรียมยืนด้วยเท้าทั้งสองข้างอยู่ที่ช่องหมายเลข 2 ก้าวเท้าซ้ายขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 4 ก้าวเท้าขวาไปที่ช่องหมายเลข 6 ต่อด้วยก้าวเท้าซ้ายเข้ามาที่ช่องหมายเลข 5 ก้าวเท้าขวาเข้ามาช่องหมายเลข 5 ด้วย จากนั้นก้าวเท้าซ้ายขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 7 ก้าวเท้าขวาขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 9 ก้าวเท้าซ้ายเข้ามาที่ช่องหมายเลข 8 พร้อมกับก้าวเท้าขวาเข้ามาที่ช่องหมายเลข 8 ด้วย จากนั้นทำย้อนกลับลงไปสู่ช่องเริ่มต้น
เริ่มด้วยท่าเตรียมยืนด้วยเท้าทั้งสองข้างอยู่ที่ช่องหมายเลข 2 ก้าวเท้าซ้ายขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 4 ก้าวเท้าขวาไปที่ช่องหมายเลข 6 ต่อด้วยก้าวเท้าซ้ายเข้ามาที่ช่องหมายเลข 5 ก้าวเท้าขวาเข้ามาช่องหมายเลข 5 ด้วย จากนั้นก้าวเท้าซ้ายขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 7 ก้าวเท้าขวาขึ้นไปที่ช่องหมายเลข 9 ก้าวเท้าซ้ายเข้ามาที่ช่องหมายเลข 8 พร้อมกับก้าวเท้าขวาเข้ามาที่ช่องหมายเลข 8 ด้วย จากนั้นทำย้อนกลับลงไปสู่ช่องเริ่มต้น
วิดิทัศน์การออกกำลังกายตาราง 9 ช่อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น